เลือกวิธีรักษาอย่างไร ให้ห่างไกลศีรษะล้าน

ศีรษะล้าน (Hair loss) เป็นหนึ่งปัญหาที่ทำลายความมั่นใจเป็นอย่างมาก เราทุกคนจึงต้องเตรียมรับมือกับปัญหานี้ และหาวิธีป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลายาวนาน จะทำให้ระดับความรุนแรงของศีรษะล้านและความยากในการรักษาเพิ่มขึ้น จนเกิดศีรษะล้านแบบถาวรได้ในที่สุด

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาศีรษะล้าน

จากการศึกษาสาเหตุ และที่มาของปัญหาศีรษะล้าน ที่มีมาอย่างยาวนาน ผ่านงานวิจัยหลายร้อยฉบับได้ข้อสรุปว่า ปัญหาศีรษะล้านนั้นมีสาเหตุหลัก ๆ มาจาก พันธุกรรม (Genetic), ฮอร์โมน (Hormone) และ อายุที่เพิ่มขึ้น (Age)นอกเหนือจากนี้จะเป็นสาเหตุที่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ ความผิดปกติหรือการเกิดโรคทางผิวหนัง (Skin disorders)ดังนั้นการเลือกวิธีรักษา จะต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงความคุ้มค่าในทุก ๆ ด้านที่เราต้องให้ความสำคัญกันอย่างจริงจังกันด้วยนะคะ

วิธีรักษาศีรษะล้านที่ได้ผลและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ประกอบด้วย 3 วิธีใหญ่ ๆ คือ

การใช้ยา (Medication), การผ่าตัดปลูกผม (Hair transplant) และ การรักษาด้วยแสงเลเซอร์คลื่นแสงความถี่ต่ำ (Low-level laser therapy) สำหรับการรักษาทั้ง 3 วิธีนี้ มีผลในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพและผิวหนังต่อไปได้ในระยะยาว

การศึกษาวิธีรักษาอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ การศึกษาผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาก็มีส่วนสำคัญ เพราะบางวิธีรักษา เช่น การใช้ยา ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะ และทำให้ผมร่วงหนักกว่าเดิม เมื่อหยุดใช้ หรือทำให้เกิดการอุดตันอันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อและเกิดสิวอักเสบขึ้นที่หนังศีรษะได้

อันตรายและผลข้างเคียง!..จากการกินยาปลูกผม

การใช้ยา (Medication)

ปัจจุบันยาที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สำหรับรักษาอาการผมร่วง ผมบาง และศีรษะล้าน ได้แก่ Minoxidil และ Finasteride

  • ไมนอกซิดิล (Minoxidil) เป็นยาทาที่มีขายทั่วไป มีทั้งแบบกิน (Oral) และแบบทา (Topical) จะเริ่มเห็นผลหลังใช้ประมาณ 1 ปี ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคความดันต่ำ และให้มีผลข้างเคียง (Side effects) บางประการที่ไม่พึงประสงค์ต่อผิวหนัง
  • ฟิแนสเทอร์ไรด์ (Finasteride) เป็นยากิน (Oral) ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเเพทย์ ห้ามใช้ในเพศหญิง หน้าที่หลัก ๆ คือ ใช้เพื่อไม่ให้เกิดผมร่วง ผลข้างเคียงที่เป็นประเด็นสำคัญของการรักษาด้วยยาตัวนี้คือ ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction), เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer)เเละ เป็นอันตรายอย่างมากสำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์เเละลูกในท้อง

การผ่าตัดปลูกผม (Hair transplant)

เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการศีรษะล้าน เพื่อผลลัพธ์เเบบถาวร เเบ่งได้เป็น 2 เเบบ คือ

  • Follicular unit transplantation (FUT) คือ การตัดหนังศีรษะบริเวณท้ายทอย ซึ่งเป็นบริเวณที่เซลล์รากผม (Hair follicle) มีความแข็งแรง ไม่ถูกทำลายจากฮอร์โมน Dihydrotestosterone (DHT) ออกมาเป็นแถบจากนั้นนำไปหั่นแยกรากผมออกเป็นเส้น ๆ แล้วนำไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ
  • Follicular unit extraction (FUE) คือ การเจาะนำรากผมออกทีละเส้น จากนั้นจึงนำไปแช่ในสารละลาย แล้วจึงใช้คีมขนาดเล็กคีบรากผมไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ ซึ่งการผ่าตัดทั้ง 2 แบบนั้น จะทำให้ผู้ที่มีศีรษะล้านแบบมันวาว กลับมามีรากผมบนหนังศีรษะได้อีกครั้ง เมื่อการผ่าตัดนั้นสำเร็จ แต่…เมื่อขึ้นชื่อว่าการผ่าตัด ย่อมมีผลข้างเคียงจากการรักษาเสมอ เช่น ได้รับความเจ็บปวด, เกิดอาการบวม, เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และมีโอกาสเส้นผมใหม่งอกขึ้นอย่างไม่สม่ำเสมอทั่วทั้งศีรษะ ที่สำคัญคือมีค่าใช้จ่ายที่สูง และต้องเสียเพิ่มเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่แพทย์นัดพบ

ผมร่วงจากพันธุกรรม รักษาให้หายได้

การรักษาด้วยแสงเลเซอร์คลื่นแสงความถี่ต่ำ (Low-level laser therapy)

คือ การใช้แสงสีแดงที่ความยาวคลื่น 630-660 นาโนเมตร ลงไปสร้างพลังงานให้กับเซลล์รากผม (Hair Follicle) บริเวณหนังศีรษะ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในหลอดเลือดฝอย ทำให้มีสารอาหารและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเซลล์รากผมมากขึ้น ส่งผลให้เซลล์รากผมที่เริ่มฝ่อหรืออ่อนแอลง สามารถกลับมาเจริญเติบโตได้อีกครั้ง ทำให้เส้นผมเกิดการงอกใหม่ ลดการหลุดร่วง เส้นผมแข็งแรงขึ้น หนาขึ้น และสุขภาพดีขึ้นด้วย โดยปราศจากผลข้างเคียง ซึ่งประสิทธิภาพของผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการศีรษะล้านเฉพาะบุคคล และความสม่ำเสมอเสมอในการรักษา

สุดท้ายอยากจะย้ำกับทุกคน ว่าการเลือกวิธีรักษาศีรษะล้าน จะต้องคิดให้รอบคอบ คำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และความคุ้มค่าในทุก ๆ ด้านกันด้วยนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *