ปัญหาศีรษะล้าน

ปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้าน ส่งผลอย่างมากต่อสภาพจิตใจทำให้ขาดความมั่นใจในบุคลิกภาพอาจถึงขั้นไม่กล้าเข้าสังคม อาจถูกล้อเลียน หรือเป็นสาเหตุให้พลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิต

“95% ของผู้ชายที่มีปัญหาศีรษะล้าน มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม‘’

ปัญหาศีรษะล้าน

ปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้าน ส่งผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้ขาดความมั่นใจในบุคลิกภาพอาจถึงขั้นไม่กล้าเข้าสังคม ถูกล้อเลียน หรือเป็นสาเหตุให้พลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิต

“95% ของผู้ชายที่มีปัญหาศีรษะล้าน มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม‘’

พันธุกรรมศีรษะล้าน

ถ่ายทอดผ่านยีนส์บนโครโมโซมที่เรามีโอกาสได้รับจากแม่ของเรา และ 95% ของผู้ที่มีปัญหาศีรษะล้าน มาจากสาเหตุดังกล่าวนี้ ศีรษะล้านจากพันธุกรรม หรือ Androgenetic Alopecia ซึ่งพบได้ในทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่อัตราส่วนที่พบในเพศชายสูงกว่าในเพศหญิง (70:30)

ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

ฮอร์โมน Dihydrotestosterone (DHT) ที่ถูกสร้างขึ้นในปริมาณมากผิดปกติ เร่งให้ผมร่วงเร็วขึ้น โดยเฉพาะในเพศชาย ส่งผลให้เพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เริ่มมีอาการผมร่วง ผมบาง และศีรษะล้าน ส่วนเพศหญิงจะเริ่มมีอาการช้ากว่า โดยจะเริ่มมีอาการเมื่ออายุประมาณ 25 ปีขึ้นไปและมักไม่รุนแรงเท่าเพศชาย

อายุที่มากขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้นขนาดและความยาวของเส้นผมจะลดลง จากการที่เซลล์รากผมสร้างพลังงานได้น้อยลง ซึ่งมีสาเหตุมากจากความเสื่อมตามธรรมชาติของเซลล์ ทำให้การไหลเวียนของโลหิตที่ไปเลี้ยงรากผมและหนังศีรษะน้อยลงตามไปด้วย เป็นสาเหตุให้ผมบางลง และศีรษะล้านในที่สุด

ความเครียด

อาการศีรษะล้านจากความเครียด หรือ Telogen Effluvium ภาวะเครียดส่งผลให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนรวมถึงเกิดความเสื่อมของเซลล์ร่างกาย รวมถึงเซลล์รากผม ทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพักยาวนานกว่าปกติ เกิดภาวะผมหยุดงอก และเริ่มร่วงในปริมาณมากขึ้น

อาหารหรือภาวะโภชนาการ

เส้นผมต้องการสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและสร้างความแข็งเรง เหมือนกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ อาจทำให้ขาดแร่ธาตุบางชนิดที่จะเป็นต่อการบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ เป็นสาเหตุทำให้ผมอ่อนแอ หลุดร่วงง่าย ควรรับประทานอาหารให้ครบ โดยเน้นอาหารที่มี ธาตุเหล็ก และโปรตีนให้เพียงพอ ควบคู่กับการออกกำลังกายและการนอนหลับ

มลภาวะเป็นพิษ

แสงแดด ฝุ่นละออง ความสกปรก และสารพิษในอากาศมีส่วนทำให้หนังศีรษะเกิดความมัน สะสมสิ่งสกปรก เป็นสาเหตุของการอุดตันของรูขุมขนของเส้นผม และเกิดการอักเสบตามมา ทำให้การเจริญเติบโตของเส้นผมหยุดชะงักและผมหลุดร่วงในที่สุด

หวีผมบ่อย ๆ หรือรวบผมตึงเกินไป

การหวีผมบ่อย ๆ จะไปกระตุ้นต่อมไขมันบริเวณหนังศีรษะให้ทำงานมากขึ้น หรือการมัดผม หรือรวบผมตึงเป็นเวลานาน ๆ จะทำหนังศีรษะด้านหน้าร่นลึกเข้าไปด้านใน ทำให้ผมด้านหน้าบางลง พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการทำลายเส้นผมหลาย ๆ เส้นพร้อมกัน ทำให้เส้นผมอ่อนแอ ผมแตกปลาย ผมร่วง และผมบาง

การใช้สารเคมีกับเส้นผม

สารเคมีหรือความร้อนเพื่อตกแต่งทรงผมหรือทำสี เป็นการเร่งปฏิกิริยาภายในเพื่อให้เส้นผมเกิดการเปลี่ยนแปลงทันที เป็นสาเหตุทำให้เซลล์ของเส้นผมถูกทำลาย แห้งเสีย หนังศีรษะอาจเกิดการอักเสบและระคายเคือง ส่งผลให้ผมขาดและหลุดร่วงได้ง่าย

“ปัญหาผมร่วง ผมบางและศีรษะล้าน สามารถป้องกันและรักษาได้
เริ่มดูแลเส้นผมของคุณตั้งแต่วันนี้”

ปัญหาศีรษะล้าน

ปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือศีรษะล้าน ส่งผลอย่างมากต่อสภาพจิตใจทำให้ขาดความมั่นใจในบุคลิกภาพอาจถึงขั้นไม่กล้าเข้าสังคม อาจถูกล้อเลียน หรือเป็นสาเหตุให้พลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิต

สาเหตุปัญหาศีรษะล้าน
“95% ของผู้ชายที่มีปัญหาศีรษะล้าน
มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม‘’

พันธุกรรมศีรษะล้าน

ถ่ายทอดผ่านยีนส์บนโครโมโซมที่เรามีโอกาสได้รับจากแม่ของเรา และ 95% ของผู้ที่มีปัญหาศีรษะล้าน มาจากสาเหตุดังกล่าวนี้ ศีรษะล้านจากพันธุกรรม หรือ Androgenetic Alopecia ซึ่งพบได้ในทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่อัตราส่วนที่พบในเพศชายสูงกว่าในเพศหญิง (70:30)

ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

ฮอร์โมน Dihydrotestosterone (DHT) ที่ถูกสร้างขึ้นในปริมาณมากผิดปกติ เร่งให้ผมร่วงเร็วขึ้น โดยเฉพาะในเพศชาย ส่งผลให้เพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เริ่มมีอาการผมร่วง ผมบาง และศีรษะล้าน ส่วนเพศหญิงจะเริ่มมีอาการช้ากว่า โดยจะเริ่มมีอาการเมื่ออายุประมาณ 25 ปีขึ้นไปและมักไม่รุนแรงเท่าเพศชาย

อายุที่มากขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้นขนาดและความยาวของเส้นผมจะลดลง จากการที่เซลล์รากผมสร้างพลังงานได้น้อยลง ซึ่งมีสาเหตุมากจากความเสื่อมตามธรรมชาติของเซลล์ ทำให้การไหลเวียนของโลหิตที่ไปเลี้ยงรากผมและหนังศีรษะน้อยลงตามไปด้วย เป็นสาเหตุให้ผมบางลงเรื่อย ๆ และศีรษะล้านในที่สุด

ความเครียด

อาการศีรษะล้านจากความเครียด หรือ Telogen Effluvium ภาวะเครียดส่งผลให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนรวมถึงเกิดความเสื่อมของเซลล์ร่างกาย รวมถึงเซลล์รากผม ทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพักยาวนานกว่าปกติ เกิดภาวะผมหยุดงอก เส้นผมไม่ยาวเท่าที่ควรและเริ่มร่วงในปริมาณมากขึ้น

อาหารหรือภาวะโภชนาการ

เส้นผมต้องการสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและสร้างความแข็งเรง เหมือนกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ อาจทำให้ขาดแร่ธาตุบางชนิดที่จะเป็นต่อการบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ เป็นสาเหตุทำให้ผมอ่อนแอ หลุดร่วงง่าย ควรรับประทานอาหารให้ครบ โดยเน้นอาหารที่มี ธาตุเหล็ก และโปรตีนให้เพียงพอ ควบคู่กับการออกกำลังกายและการนอนหลับ

มลภาวะเป็นพิษ

แสงแดด ฝุ่นละออง ความสกปรก และสารพิษในอากาศมีส่วนทำให้หนังศีรษะเกิดความมัน สะสมสิ่งสกปรก เป็นสาเหตุของการอุดตันของรูขุมขนของเส้นผม และเกิดการอักเสบตามมา ทำให้การเจริญเติบโตของเส้นผมหยุดชะงักและผมหลุดร่วงในที่สุด

หวีผมบ่อย ๆ หรือรวบผมตึงเกินไป

การหวีผมบ่อย ๆ จะไปกระตุ้นต่อมไขมันบริเวณหนังศีรษะให้ทำงานมากขึ้น หรือการมัดผม หรือรวบผมตึงเป็นเวลานาน ๆ จะทำหนังศีรษะด้านหน้าร่นลึกเข้าไปด้านใน ทำให้ผมด้านหน้าบางลง พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการทำลายเส้นผมหลาย ๆ เส้นพร้อมกัน ทำให้เส้นผมอ่อนแอ ผมแตกปลาย ผมร่วง และผมบาง

การใช้สารเคมีกับเส้นผม

สารเคมีหรือความร้อนเพื่อตกแต่งทรงผมหรือทำสี เป็นการเร่งปฏิกิริยาภายในเพื่อให้เส้นผมเกิดการเปลี่ยนแปลงทันที เป็นสาเหตุทำให้เซลล์ของเส้นผมถูกทำลาย แห้งเสีย หนังศีรษะอาจเกิดการอักเสบและระคายเคือง ส่งผลให้ผมขาดและหลุดร่วงได้ง่าย

“หากเราทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด
เราก็จะสามารถหาวิธีลดอาการผมร่วง
และป้องกันภาวะศีรษะล้านในอนาคตได้”