ผมร่วงทุกวันเกิดจากอะไร..?

ผม คือ โครงสร้างเนื้อเยื่อ (Ectodermal structure) ที่อยู่ชั้นนอกสุดของร่างกาย ทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องสำอาง ที่สร้างภาพลักษณ์และบุคคลิกภาพที่ดีให้กับตัวบุคคล สำหรับหลาย ๆ คนแล้ว เส้นผมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างตัวตน มีความสัมพันธ์กับการเป็นที่ยอมรับในสังคมและความน่าดึงดูดทางเพศ โดยมีงานวิจัยพบว่า ทั้งเพศหญิงและเพศชาย มีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพชีวิตลดลงและลดการเข้าสังคม เมื่อเกิดการสูญเสียเส้นผม การหลุดร่วงของเส้นผมจึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงของคนทุกเพศ ทุกวัย โดยไม่จำกัดอายุ

วงจรการเติบโตของเส้นผม

ข้อมูลจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ระบุว่า คนเรามีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 100,000-150,000 เส้น เมื่อผลิตแล้วจะมีการหลุดร่วงไปตามธรรมชาติ โดยการหลุดร่วงนั้นขึ้นอยู่กับวงจรการเติบโตของเส้นผม (Hair growth cycle) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่

Anagen

ระยะการเจริญเติบโต (Anagen/ Growth phase) คือ ระยะที่เซลล์รากผม (Hair follicle) อยู่ลึกที่สุดในชั้นหนังแท้ (Dermis) โดยมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก และใช้เวลาประมาณ 2-8 ปี ในการเจริญเติบโต ซึ่งปกติแล้วเส้นผมประมาณร้อยละ 90–95 ของเส้นผมทั้งศีรษะจะอยู่ในระยะการเจริญเติบโตนี้ <

Catagen

ระยะหยุดการเจริญเติบโต (Catagen/ Involution phase ) คือ ระยะที่เซลล์รากผม (Hair follicle) หยุดการแบ่งเซลล์ แต่จะค่อย ๆ เลื่อนตัวสูงขึ้นเพื่อไปสู่บริเวณเซลล์ต้นกำเนิด ใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ซึ่งผมที่อยู่ในระยะนี้จะมีปริมาณน้อยมาก เพียงร้อยละ 1 ของปริมาณเส้นผมทั้งศีรษะ

Telogen

ระยะพัก (Telogen/ Resting phase) คือ ระยะสุดท้ายของเส้นผม ที่เซลล์รากผม (Hair follicle) เลื่อนตัวสูงขึ้นจนถึงบริเวณเซลล์ต้นกำเนิดแล้ว ก่อนที่เซลล์ต้นกำเนิดจะส่งสัญญาณให้เซลล์รากผม (Hair follicle) เลื่อนลงมาอีกครั้ง เพื่อให้มีการสร้างเส้นผมใหม่ (Early anagen) ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน และมีจำนวนประมาณร้อยละ 5–10 ของปริมาณผมทั้งศีรษะ โดยเส้นผมที่สร้างขึ้นใหม่ (Early anagen) จะดันเส้นผมเก่า (Telogen) ให้หลุดร่วงไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พบผมร่วงวันละ 50-100 เส้น ในทุก ๆ วัน

จริง ๆ แล้วผมร่วงไม่ได้เกิดจากแค่เส้นผมเข้าสู่ระยะพัก (Telogen)…

นอกจากการร่วงตามวงจรการเจริญเติบโต (Hair growth cycle) ของเส้นผมแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ผมร่วง หรือร่วงมากกว่าปกติ เช่น ยีนส์ (Genetic), ฮอร์โมนเพศชาย (Dihydrotestosterone), อายุที่เพิ่มขึ้น (Age) และ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นการทำลายเส้นผม เช่น การหวี ที่ทำให้เกิดการเสียดสีและเกิดริ้วรอยแก่เปลือกผม (Cuticle) ทั้งการมีภาวะเจ็บป่วย ความเครียด และการสูบบุหรี่ พฤติกรรมเหล่านี้จะไปกระตุ้นวงจรของเส้นผมให้เข้าสู่ระยะพัก (Telogen) ให้เร็วขึ้น ทำให้มีภาวะผมร่วงมากขึ้นได้เช่นกัน

ปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงนั้น…ดูเหมือนยากที่จะหลีกเลี่ยง ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้มีการพยายามพัฒนาวิธีป้องกัน และรักษาปัญหาผมร่วงนี้อย่างจริงจัง โดยใช้หลักการแสงเลเซอร์คลื่นแสงความถี่ต่ำ (Low-level laser therapy/ LLLT) ซึ่งมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษา สามารถกระตุ้นเส้นผมให้เกิดการงอกใหม่ ลดการหลุดร่วง และทำให้หนังศีรษะสุขภาพดีขึ้นด้วยค่ะ

ศึกษา หลักการทำงานของ แสงเลเซอร์คลื่นแสงความถี่ต่ำ (Low-level laser therapy/ LLLT) เพิ่มเติมได้ที่
https://hairbeam.co.th/why-hair-beam-air/how-dose-lllt-work/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *