ผมร่วง จุดกำเนิดของศีรษะล้าน เป็นปัญหาที่พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น เพศชาย เพศหญิง เด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยผู้ใหญ่ หรือ วัยสูงอายุ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีส่วนในการบั่นทอนจิตใจเป็นอย่างมาก แต่เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้วการทำความเข้าใจ และรู้หลักในการเลือกใช้วิธีรักษา จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาและทำให้รู้สึกกลับมามั่นใจขึ้นได้
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ผมร่วง ศีรษะล้าน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ (Scarring alopecias)
คือ ผมร่วงประเภทที่เซลล์รากผมถูกทำลาย และไม่สามารถกลับมาเจริญเติบโตได้อีก ทำให้เกิดผมร่วงอย่างถาวร (Permanent loss of hair) โดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติและการเกิดโรคทางผิวหนัง เช่น DLE, Scleroderma, Pseudopelade, Follicular lichen planus และ Cutaneous lupus erythematosus ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่ไปขัดขวางการเจริญเติบโตของเส้นผม นอกจากที่กล่าวมาแล้ว การที่หนังศีรษะได้รับการบาดเจ็บ (Physical trauma) จากการถูกดึง (Chronic traction) หรือแกะ เกา จนทำให้เกิดบาดแผล (Dermatitis artefacta) ก็ทำให้เกิดการสูญเสียผมอย่างถาวรได้ด้วยเช่นกัน
ผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็นบนหนังศีรษะ (Non-scarring alopecias)
คือ ผมร่วงประเภทที่เซลล์รากผมยังไม่ถูกทำลาย มีสาเหตุจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์รากผมของตนเอง ซึ่งผมร่วงในลักษณะนี้สามารถรักษาให้หายได้ เพราะเซลล์รากผมยังมีชีวิตอยู่ แต่หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำการรักษาก็อาจพัฒนาไปสู่แบบผมร่วงอย่างถาวร (Permanent loss of hair) ได้
ผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็นบนหนังศีรษะที่พบมากในคนไทย แบ่งได้เป็นอีก 3 ประเภท ได้แก่
ผมร่วงจากพันธุกรรม (Androgenic alopecia)
คือ ผมบริเวณด้านหน้า (Temporal) และ ตรงกลางศีรษะ (Vertex) จะบางลง และมีปริมาณเส้นผมที่อยู่ในระยะพัก (Telogen hair) ที่พร้อมร่วงมากขึ้น ซึ่งพบว่าประวัติครอบครัว โดยเฉพาะฝ่ายแม่จะมีคนเป็นโรคศีรษะล้านจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia)
ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata)
คือ โรคที่ทำให้ร่างกายมีเส้นผมหรือขน เกิดขึ้นเพียงหย่อมเดียว หรือ หลายหย่อมรวมกัน ซึ่งผมบริเวณรอบ ๆ รอยโรคจะหลุดร่วงได้ง่าย หากรุนแรงมากอาจถึงขั้น ผมร่วงหมดทั้งศีรษะ (Alopecia totalis) และถ้ามีขนบริเวณอื่น ๆ ทั่วร่างกายร่วงด้วย เช่น ขนคิ้ว ขนตา ขนตามตัว รักแร้และหัวหน่าว จะเรียกว่า Alopecia universalis
ผมร่วงเฉียบพลัน (Telogen effluvium)
คือ ผมร่วงที่เกิดจากความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึม (Metabolism) ในร่างกาย ทำให้เส้นผมบางลง และเกิดผมร่วงแบบชั่วคราว (Temporary loss of hair) มักมีสาเหตุมาจาก ความเครียด การใช้ยาบางตัว โรคบางอย่าง และการเปลี่ยนแปลงระดับของ ฮอร์โมน โดยเฉพาะในคุณแม่หลังคลอด เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าผมร่วงแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกัน และมีความสัมพันธ์กับผิวหนัง การเลือกวิธีดูแลรักษา จึงเป็นสิ่งสำคัญ และจะต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยต่อหนังศีรษะ ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง วิธีที่เลือกควรเป็นวิธีที่ไม่รบกวนหรือขัดขวางกลไกการทำงานตามธรรมชาติของร่างกาย และที่สำคัญประการสุดท้ายคือ ควรมีงานวิจัยรับรอง เพื่อพิ่มความมั่นใจในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษา
เพียงเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและคำนึงถึงความสำคัญด้านชีววิทยาของเส้นผม ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ หรือได้เรียกว่า ปกป้องเส้นผมเพื่อให้เส้นผมมีสุขภาพที่ดีและอยู่กับเราได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง