ศีรษะล้านจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia) เป็นปัญหาที่พบมากในทั้งเพศชาย และเพศหญิง และอาการมีรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น แต่ศีรษะล้านจากพันธุกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร เดี๋ยวเรามาดูกันค่ะ
ศีรษะล้านจากพันธุกรรม(Androgenetic alopecia)
คือโรคที่ทำให้เกิดภาวะผมร่วง ผมบาง และ ศีรษะล้าน ด้วยปัจจัยทางพันธุกรรม (Genetic) ร่วมกับ ระดับฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) ที่มีมากกว่าปกติและอายุที่เพิ่มขึ้น (Chronologic) ซึ่งมีอัตราที่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
สำหรับคนไทย พบว่าเพศชายอายุระหว่าง 18-90 ปี มีอาการศีรษะล้านจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia) มากถึงร้อยละ 38.5 และส่วนใหญ่มักเกิดอาการผมบางบริเวณกระหม่อมศีรษะ
ในทางสากลนิยมเรียก โรคศีรษะล้านจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia)ในชื่อใหม่ว่า โรคศีรษะล้านที่มีรูปแบบเฉพาะ (Male/ Female Pattern Hair Loss) ซึ่งมักเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น โดยเพศชายมีโอกาสเกิดภาวะนี้ในอายุน้อย มากกว่าเพศหญิงที่จะพบภาวะนี้ในคนสูงวัยกว่า และพบว่าในกลุ่มคนผิวขาว (Caucasians) จะมีอัตราการเกิดศีรษะล้านมากกว่า กลุ่มคนเอเชีย (Asian) และ คนผิวดำ (African American)
สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดศีรษะล้านจากพันธุกรรม
คือ การที่ระดับเอนไซม์ 5 แอลฟารีดักเตส (5-alpha reductase) บริเวณหนังศีรษะเพิ่มขึ้น ซึ่งเอนไซม์นี้จะทำหน้าที่เปลี่ยน ฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) จาก โทสเตอโรน (Testosterone) ให้กลายเป็นไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone/ DHT) ที่มีฤทธิ์แรงขึ้น
ฮอร์โมน DHT จะเข้าไปจับกับตัวรับฮอร์โมนเพศชาย (Androgen receptor) ที่อยู่บริเวณเซลล์รากผม (Hair follicle) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Regulation of gene expression) ทำให้รูขุมขนบริเวณหนังศีรษะเล็กลงและส่งผลให้เส้นผมที่ผลิตขึ้นมีลักษณะบางและสั้นลง จึงเกิดอาการผมบางและหลุดร่วงตามมา จนกระทั่งนำไปสู่ภาวะศีรษะล้านได้ในที่สุด
ศีรษะล้านที่มีรูปแบบเฉพาะ (Male/ Female Pattern Hair Loss) ในเพศชายและเพศหญิง
ที่มาจากโรคศีรษะล้านจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia) จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นศีรษะล้านจากพันธุกรรมเหมือนกัน
ศีรษะล้านที่มีรูปแบบเฉพาะ ( Male pattern hair loss/ MPHL) ในเพศชาย
จะใช้เกณฑ์ Norwood Hamilton Classification ในการประเมิน โดยประเมินจากความรุนแรงของศีรษะล้านที่อยู่บริเวณด้านข้าง (Bitemporal) เเละ บริเวณกลางศีรษะหรือกลางกระหม่อม (Vertex) เมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมลักษณะที่พบบ่อยในชาวเอเชีย จะเเบ่งรูปแบบศีรษะล้านได้เป็น 4 ชนิด และ แบ่งความรุนแรงได้เป็น 7 ระดับ
ศีรษะล้านที่มีรูปแบบเฉพาะ ( Female pattern hair loss/ FPHL) ในเพศหญิง
จะใช้เกณฑ์ Ludwig Classificationซึ่งเเบ่งระดับความรุนแรงของศีรษะล้านได้เป็น 3 ระดับ โดยประเมินจาก ความกว้างของพื้นที่ผมบาง ศีรษะล้านบริเวณด้านหน้า (Temporal) และ ตรงกลาง (Vertex) ของศีรษะเมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับลักษณะที่พบบ่อยในเพศหญิงชาวเอเชีย สามารถแบ่งระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้น ได้เป็น 7 ระดับ
แม้ศีรษะล้านจากพันธุกรรมจะเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยและทำให้เพศชายและเพศหญิงต่างเกิดการสูญเสียความมั่นใจ แต่ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้มีการค้นพบวิธีการรักษา ร่วมกับการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถแก้ปัญหาโรคศีรษะล้านจากพันธุกรรม(Androgenetic alopecia) ได้โดยเฉพาะ ออกมาแล้วนะคะ
ลองศึกษาการทำงานของนวัตกรรมหมวกเลเซอร์ปลูกผม Hair Beam Airที่ถูกสร้างมาเพื่อช่วยป้องกันและรักษาอาการผมร่วง ผมบางและศีรษะล้านจากพันธุกรรมโดยเฉพาะ
ได้ที่ https://hairbeam.co.th/why-hair-beam-air/nano-technology/